ธรรมะในฐานะระบบการดำเนินชีวิต

BIA-P.2.3.1/1-73

ธรรมะในฐานะระบบการดำเนินชีวิต

ธรรมะในฐานะระบบการดำเนินชีวิต

เอกสารชุดมองด้านใน อันดับ 73

ชีวิตนี้เป็นสิ่งที่ดำเนินเรื่อย หมายถึงเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยไปเหมือนกับสังขารทั้งหลายอื่นที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง การดำเนินชีวิตนั้นมันเป็นตัวธรรมะอยู่ในการดำเนินนั้นแล้ว อย่าแยกออกเป็น 2 เรื่องว่าดำเนินชีวิตแล้วก็ทำให้ประกอบไปด้วยธรรมนั่นก็ถูก แต่ต้องการมากกว่านั้น คือต้องการให้มันเป็นตัวธรรมอยู่ในตัวชีวิตที่กำลังดำเนินไปนั่นเอง เรามีสันติภาพทั้งของตนเองและของผู้อื่นเป็นจุดหมายปลายทาง คนทุกคนในโลกนี้มีความเป็นมนุษย์เต็มที่ คือแปลว่ามีจิตใจสูง อยู่เหนือปัญหา อยู่เหนือความทุกข์ ไม่ใช่ว่าจะมาวนเวียนอยู่ที่เรื่องกิน เรื่องกาม เรื่องเกียรติ มันก็ไม่ประสบสันติภาพอันถาวร เพราะว่าเรื่องกิน เรื่องกาม เรื่องเกียรตินั้นมีแต่ยุให้เห็นแก่ตัว ทำไปเพื่อประโยชน์ของตัว มันก็รุกล้ำสิทธิของผู้อื่น

ถ้าเราไม่เห็นแก่ตัว มันเกิดความรักแบบสากล คือรู้สึกรักเพื่อนมนุษย์ทุกคน ทุกคนเป็นเพื่อนทุกข์ เพื่อนเกิด เพื่อนแก่ เพื่อนเจ็บ เพื่อนตาย ไม่มีกู ไม่มีมึง นั่นแหละจุดหมายปลายทางของมนุษย์ การที่จะถึงจุดหมายปลายทางของความเป็นมนุษย์ กล่าวตามหลักพุทธศาสนาแล้วเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แบ่งได้เป็น 2 ฝ่าย คือ มัชฌิมาปฏิปทาส่วนปัจเจกชน กับมัชฌิมาปฏิปทาส่วนสังคมคือรวมกันทั้งหมดเป็นหมู่ๆ การปฏิบัติใน 8 ประการนั้น ทำให้หมดปัญหา ทางกายวาจาก็ไม่ผิดพลาด ทางจิตก็ไม่ผิดพลาด ทางสติปัญญา ความคิดนึกก็ไม่ผิดพลาด เป็นการดำเนินชีวิตที่ไม่มีปัญหาใดๆ ไม่ทรมานตนเอง ไม่ทรมานผู้อื่น มัชฌิมาปฏิปทาส่วนสังคม ก็คือไม่มีซ้าย ไม่มีขวา ไม่มีมึง ไม่มีกู มีแต่เรา ความเหลื่อมล้ำต่ำสูงนั้นเป็นสิ่งที่ต้องมีโดยกฎของธรรมชาติ แต่มันอยู่ได้เพราะการมีธรรมะ คือมันประสมประสานกัน มันอาศัยซึ่งกันและกัน


- พิมพ์ครั้งที่ [ม.ป.ป.]

หน้า [1] - [20]

Item

สิ่งพิมพ์บนกระดาษ ปกอ่อน จำนวน 20 หน้า

การดำเนินชีวิต, มรรคมีองค์แปด, มัชฌิมาปฏิปทา