พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓

BIA-P.1/35-3

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓

หนังสือ ปทานุกรม ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2470 ซึ่งจัดทำโดย กระทรวงธรรมการ (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) เป็นหนังสือรวบรวมคำในภาษาไทยพร้อมอธิบายความหมาย แต่ยังมีข้อบกพร่องอยู่ จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการชำระปทานุกรมขึ้น เพื่อพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมปทานุกรมดังกล่าว ภายหลังได้มีการสถาปนาราชบัณฑิตยสถาน เมื่อ พ.ศ. 2477 จึงได้โอนงานจากคณะกรรมการชำระไปอยู่ในราชบัณฑิตยสถาน และเปลี่ยนชื่อจาก ปทานุกรม เป็น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ในที่สุด

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 ใช้เวลาปรับปรุง ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 – 2493 พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2493

พิมพ์ครั้งที่ 1 [พ.ศ. 2493]

[1] - [1073]

หมายเหตุ

- มีลายมือเขียนด้วยปากกาที่กระดาษห่อปกว่า "ปทานุกรมฉบับราชบัณฑิตสภา"

- มีลายมือเขียนที่สันหนังสือว่า "ปทานุกรมฉบับราชบัณฑิตสภา"

- มีลายมือเขียนด้วยปากกาที่ใบรองปกว่า "สิเนห สิเนหา เสนห เสนหา เสน่หา คงไว้ทั้ง ๕ ตัวหย่างนี้ บ้าชัดๆ ควรจะเลือกเอาสักตัวเดียว เช่นกับตัวอื่นๆ ที่พยายามเอาไว้แต่ตัวเดียว.

ถ้าตัวเช่นนี้เอาไว้ทั้งห้าตัว ตัวอื่นก็ควรจะได้ด้วยกัน เช่น มนุษย์ มนุสส์ มานุช มานุษย์ มนุช, ทำไมเอาแต่มนุษย์ ตัวเดียว . เสน่ห์ ต่างหาก."

- มีแก้คำผิด หน้า 15, 144, 524, 620, 621, 675, 696, 810, 969

- มีใบแก้คำผิดท้ายเล่ม

พ.ศ. 2493

Item

สิ่งพิมพ์บนกระดาษ ปกแข็ง จำนวน 1073 หน้า และมีลายมือของพุทธทาสภิกขุเขียนด้วยปากกา

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓


พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๙๓


พิมพ์ที่โรงพิมพ์

บริษัทคณะช่างจำกัด ถนนอุณากรรณ์ พระนคร

นายเปลื่อง แสงเถกิง ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา ๒๔๙๓

พจนานุกรม, คำไทย, ปทานุกรม