หลักปฏิบัติเกี่ยวกับทานบริจาค

BIA-P.2.3.1/1-41

หลักปฏิบัติเกี่ยวกับทานบริจาค

หลักปฏิบัติเกี่ยวกับทานบริจาค

เอกสารชุดมองด้านใน อันดับ 41

ในพุทธศาสนาทั้งหมดนั้นไม่มีอะไรมากไปกว่า การให้ทานให้ถึงที่สุด ถ้าผู้อ่านได้เข้าใจเรื่อง อามิสทาน อภัยทาน ธรรมทาน และสุญญตาทานที่รวมอัตตทาน และนิพพานทานเป็นที่สุด การกล่าวอย่างนี้มิใช่เป็นการตั้งใจกล่าวอย่างเล่นสำนวนโวหาร แต่มีเจตนาจะช่วยประหยัดเวลา ประหยัดสติปัญญา ประหยัดเรี่ยวแรงของการศึกษาและการปฏิบัติธรรมอย่างสูงสุด เรื่องการให้ทานนี้โดยสรุปแล้วมีเป็น 2 ประเภทคือ ให้เพื่อรับกำไรที่ส่งเสริมกิเลส เอามาเพิ่มให้แก่ตัว และให้เพื่อสลัดออกไปจากความยึดมั่นถือมั่นหรือทำลายกิเลส เอาความเบา ความหลุดพ้น และความว่างในที่สุ เป็นผลที่มุ่งหมาย

การให้ทานที่มีประโยชน์ที่สุดหรือจำเป็นที่สุดสำหรับสังคมนั้น คือ อภัยทาน คือ การทำตนให้ไม่เป็นที่หวาดกลัวสำหรับผู้อื่น อยู่ในรูปของการอดโทษ ให้อภัย ในรูปของการไม่เบียดเบียนโดยตรง หรือการไม่เบียดเบียนโดยอ้อม เช่น การไม่คอยเอารัดเอาเปรียบ อย่างไรก็ดี อภัยทานนี้ถ้าจะเป็นไปได้สูงสุด ก็ไม่หนีจากสุญญตาทาน ถ้ายังเห็นแก่ตัวจัดก็รักผู้อื่นไม่ได้ ให้อภัยใครไม่ได้ อดเอาเปรียบผู้อื่นไม่ได้ แต่ถ้าเห็นธรรมถึงขนาดว่างจากตัวตน มันก็เป็นอภัยทานถึงที่สุดโดยอัตโนมัติและตลอดเวลา


- พิมพ์ครั้งที่ 1 [พ.ศ. 2514]

หน้า [1] - [62]

ซ้ำ 2 เล่ม



พ.ศ. 2514

Item

สิ่งพิมพ์บนกระดาษ ปกอ่อน จำนวน 62 หน้า

อภัยทาน, การให้ทาน, อามิสทาน, สุญญตาทาน, ธรรมทาน