จิตประภัสสร จิตเดิมแท้ จิตว่าง เหมือนกันหรืออย่างไร?

BIA-P.2.3.1/1-26

จิตประภัสสร จิตเดิมแท้ จิตว่าง เหมือนกันหรืออย่างไร?

จิตประภัสสร จิตเดิมแท้ จิตว่าง เหมือนกันหรืออย่างไร?

เอกสารชุดมองด้านใน อันดับ 26

จิตประภัสสร หมายความว่า มันไม่สกปรกมืดมัวเศร้าหมอง ทำอย่างไรจึงจะให้คงมีความเป็นประภัสสรปรากฎอยู่เป็นการถาวรได้ ก็คือกระทำอย่าให้มีกิเลสเกิดขึ้น วิธีที่จะทำไม่ให้กิเลสเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า อัฏฐังคิกมรรค คือ การกระทำที่ถูกต้องครบถ้วน 8 ประการ รวมกันเป็นอันเดียวเรียกว่า มรรค คำว่าจิตเดิม หรือจิตเดิมแท้นี้ มีอยู่ในพวกพุทธบริษัทฝ่ายนิกายธยานะ หรือที่เราเรียกว่านิกายเซ็น แต่ว่าคำๆ นี้มันก็บอกอยู่ในตัวว่ามีความหมายอย่างเดียวกับคำว่า ประภัสสร เพราะพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า จิตนี้เป็นประภัสสรซึ่งเศร้าหมองเมื่อกิเลสเป็นอาคันตุกะจรเข้ามา คำว่า จิตว่าง ไม่ได้หมายถึงจิตที่ไม่คิดไม่นึกอะไรมันยังคงทำหน้าที่ตามธรรมดาของจิต คือคิดนึก มีพฤติต่างๆ ตามที่จิตมันจะต้องมี แต่ว่าในความคิดนึ หรือพฤติเหล่านั้นมันไม่เจือด้วยอุปาทาน ว่าตัวกู - ว่าของกู เพราะว่างไปจากตัวกู - ของกูนั่นแหละ เขาจึงได้เรียกว่า จิตว่าง

ความโลภ ความโกรธ ความหลง นี้เป็นกิริยาอาการของตัวกู - ของกูด้วยทั้งนั้น ถ้าจิตว่างจากความรู้สึกว่าตัวกู - ของกูเสียแล้ว มันก็ว่างจากโลภะ โทสะ โมหะ จิตชนิดนี้แหละ คือจิตว่างตามหลักของพุทธศาสนา ปัญหาที่ผู้ถามมากที่สุดว่า จิตประภัสสร จิตเดิมแท้ จิตว่างนั้น มันอันเดียวกันหรือเปล่า ขอให้เข้าใจคำทั้งสามนี้แต่ละคำๆ ให้ถูกต้อง ให้ตอบด้วยตนเอง รู้เอง เห็นเอง ปฏิบัติเอง นี้เป็นหลักพระพุทธศาสนา จงตั้งหน้าตั้งตาศึกษาจากภายในของตน จนรู้จักความเป็นประภัสสรหรือความเป็นของเดิมแท้หรือความเป็นของว่างอย่างถูกต้อง อะไรๆมันจะตอบได้ในตัวมันเอง


- พิมพ์ครั้งที่ 2 [พ.ศ. 2516]

หน้า [1] - [40]

ซ้ำ 5 เล่ม

พ.ศ. 2516

Item

สิ่งพิมพ์บนกระดาษ ปกอ่อน จำนวน 40 หน้า

จิต, กิเลส, ตัวตน, ตัวกูของกู