ธรรมะกับสัญชาตญาณ

BIA-P.2.1/33 กล่อง 22

ธรรมะกับสัญชาตญาณ

ธรรมะกับสัญชาตญาณ

สัญชาตญาณเป็นคำที่คุ้นหูแก่คนทั่วไป และบางคนยังใช้คำ “สัญชาตญาณ” เป็นคำออกตัวเมื่อกระทำผิด ว่าที่ทำไปนั้นเพราะถูกแรงกระตุ้นของสัญชาตญาณ แล้วก็กระทำผิดเช่นนั้นซ้ำอีก โดยถือเสียว่ามันเป็นเรื่องสัญชาตญาณ เพราะมันแก้ไขปรับปรุงอะไรไม่ได้

แต่ในหนังสือ “ธรรมะกับสัญชาตญาณ” ได้ชี้ให้เห็นว่า แท้จริงแล้วสัญชาตญาณเป็นสิ่งที่ปรับปรุงได้ พัฒนาได้ ด้วยการใคร่ครวญดูลงไปให้ประจักษ์ว่า ตัวรากเหง้าหรือแม่บทของสัญชาตญาณ อันก่อให้เกิดสัญชาตญาณปลีกย่อยต่าง ๆ เช่น สัญชาตญาณแห่งการแสวงหาอาหาร แห่งการต่อสู้ แห่งการป้องกันตัว เป็นต้น ล้วนมาจากสัญชาตญาณแม่บทที่ชื่อว่า สัญชาตญาณแห่งความรู้สึกว่ามีตน หรือตรงกับคำว่า อัสมิมานะ ในพุทธศาสนานั่นเอง

ถ้ามนุษย์สนใจในเรื่องของสัญชาตญาณให้ถูกต้อง ย่อมสามารถพัฒนาสัญชาตญาณให้เป็นภาวิตญาณได้ โดยหลักใหญ่ๆ ใช้หลักอานาปานสติเพื่อควบคุมกาย เวทนา จิต ให้อยู่ในความถูกต้อง ด้วยความรู้อันถูกต้องในธรรม แล้วใช้โพชฌงค์เจ็ดเป็นอุบายหรือเทคนิคในการควบคุม ประกอบด้วยธรรมะหมวดอื่นเป็นส่วนสนับสนุน เช่น อิทธิบาทสี่ อินทรีย์ห้า พละห้า เป็นต้น แล้วชีวิตก็จะดำเนินอยู่ในความถูกต้องแห่งอริยมรรคตลอดเวลา นี้คือ การใช้ธรรมะเพื่อพัฒนาสัญชาตญาณในส่วนที่ไม่ถูกต้องให้เกิดความถูกต้อง และในส่วนที่มีความถูกต้องอยู่บ้างนั้น ให้เป็นความถูกต้องที่หมดจด


-พิมพ์ครั้งแรก [พ.ศ. 2531]

หน้า [1] - [432]

หมายเหตุ

-หนังสือชุดธรรมโฆษณ์ หมวดที่ 2 ปกรณ์พิเศษ เล่มที่ 15

พ.ศ. 2531

Item

สิ่งพิมพ์บนกระดาษ ปกแข็ง จำนวน 432 หน้า

พุทธศาสนา--หลักธรรม, พุทธศาสนาเถรวาท

อานาปานสติ, กิเลส, สัญชาตญาณ, โพธิ